เพื่อนคนหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า ในสมัยโบราณนั้น ประเทศไทยมี 4 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน
ฤดูน้ำหลาก และ ฤดูแล้ง ซึ่งฤดูน้ำหลากนั้นจะมีน้ำไหลผ่านประเทศไทยอย่างมากมาย
ทำให้แม้แต่กองทัพพม่ายังต้องยกทัพกลับไปเองเมื่อมาล้อมกรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง
บ้านเรือนคนไทยทุกหลังสร้างโดยยกใต้ถุนสูง ทุกบ้านมีเรือพาย มีลำคลองมากมายลัดเลาะ
เป็นทางน้ำไหล แม้กระทั่งข้าวในนายังเป็นพันธุ์หนีน้ำ คือ สามารถชูยอดข้าวให้พ้นน้ำ (*1)
ได้ด้วยตัวเองเมื่อมีน้ำท่วม ผู้คนจึงมีวิถีชีวิตที่เคยชินอย่างเหมาะสม และไม่เดือดร้อนกับเรื่องนี้นัก
จนกระทั่งเมื่อสักไม่ถึงร้อยปีที่ผ่านมา เราสร้างบ้านแปลงเมืองอย่างฝรั่ง
บ้านเรือนของเรานั้นมีตัวบ้านตั้งอยู่ติดกับผืนดิน มีการถมคูคลองเพื่อสร้างถนน
มีการตัดไม้ ฯลฯ และไม่มีใครมีเรือพายประจำบ้านอีกต่อไป
นิยามของคำว่า "ทันสมัย" คืออะไร เราพัฒนาสังคมและวิถีชีวิตตามอย่างฝรั่งโดยไม่สอดคล้อง
กับลักษณะของตัวเราเองหรือไม่ และแนวคิดในการพัฒนาอย่างเหมาะสมนั้นควรเป็นอย่างไร
กับลักษณะของตัวเราเองหรือไม่ และแนวคิดในการพัฒนาอย่างเหมาะสมนั้นควรเป็นอย่างไร
คำถามเหล่านี้น่าคิดครับ ? ? ?
บทความจาก ดร. นพนันท์ อรุณวงศ์ ณ อยุธยา
( *1 "ข้าวฟางลอย" ข้าวนาปีพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมของไทย )